Biography : มุทิตา อาจารย์นนท์

อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน 
(16 ตุลาคม พ.ศ. 2489) 

ประติมากร อาจารย์และศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์) สาขาย่อยประติมากรรม เกิดที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษามหาบัณฑิตสาขาประติมากรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลินมีผลงานที่ได้รับรางวัลสำคัญคือรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่ง ชาติ ครั้งที่ 19-22 และ 24 รางวัลการประกวดออกแบบพระพุทธรูปที่วัดทองศาลางาม ฯลฯ ไม่รวมงานชิ้สำคัญอื่นเป็นจำนวนมาก อาจารย์นนทิวรรธน์เป็นศิลปินแห่งชาติที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณไว้ว่า

"...เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์งานศิลปะมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา ๓๗ ปี นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน เป็นประติมากรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ผลงานที่โดดเด่นเป็นรูปทรง ๓ มิติ มีความสัมพันธ์ของเส้นและปริมาตรอันกลมกลืนงดงาม โดยนำเสนอผ่านความรู้สึก อารมณ์และความปรารถนา เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ และต่อมาในภายหลังได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีเนื้อหาแฝงปรัชญาทางพุทธศาสนา ผลงานได้รับรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติหลายครั้งรวมทั้งได้รับเกียรติ ให้สร้างประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมทั้งในและต่างประเทศ เช่น ออกแบบเหรียญและทำต้นแบบเหรียญพระมหาชนกถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ออกแบบประติมากรรมนูนสูง ติดตั้งสระน้ำ ภายในบริเวณสวนหลวง ร.๙ และดำเนินการปั้นดินต้นแบบและควบคุมการหล่อทองเหลืองแล้ว ปิดทองพระประธานและพุทธสาวกเพื่อประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นผู้เผยแพร่ความรู้ และสร้างคุณประโยชน์ทางด้านศิลปะแก่สังคมและ วงการศึกษาศิลปะของไทย มาโดยตลอด "




 นั่นคือประวัติย่อๆของท่านเท่านั้น แต่คุณูปการของท่านที่มากมายมหาศาล ในพื้นที่บล็อกนี้คงไม่เพียงพอที่จะกล่าวหมด อาจฟังดูเว่อร์ แต่นั่นมันคือความจริง ศิลปินผู้ทรงคุณค่าของวงการศิลปะไทย และคณบดีผู้ทุ่มเทของคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
      ผู้ที่ช่วยให้ศิลปกรรม มมส.ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
     
๘ ปี แห่งการเสียสละ ๘ ปีแห่งควมเหน็ดเหนื่อย ๘
ปีแห่งการเพาะปลูกต้นกล้าแห่งศิลป์ ๘ ปีแห่งการเจริญงอกงาม

 เราชาวศิลปกรรมศาสตร์ ทัศนศิลป์ขอมุทิตาจิตแด่อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ให้มีสุขภาพแข็งแรง อยู่คู่วงการศิลปะของไทย เพื่อให้คงอยู่สืบไป

Disign by Buttersugar104

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น